DGB CLINIC
Typically replies in a few hours
Greeting from DGB CLINIC, May I help you?
Start Chat

          รีแพร์ (Repair) หรือการซ่อมแซม คือ การผ่าตัดตกแต่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่หย่อนยานภายในช่องคลอดให้เล็กลงและเกิดการหดรัดที่ดีกว่าเดิม

สาเหตุ

   1. การมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลานาน
   2. การคลอดบุตรทางช่องคลอด
   3. การคลอดบุตรหลายคน
   4. อายุที่มากขึ้น
   5. ภาวะอ้วน-ผอม
   6. ผู้ที่ออกแรงเกร็งช่องท้อง เช่น การยกของหนัก เป็นประจำ

การรักษา

     ❇️ การรักษาแบบประคับประคอง

          สามารถทำได้โดย การขมิบช่องคลอด (Kegel Exercise)  อาจจะเริ่มต้นจากวันละ 10 ครั้ง จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มเป็นวันละ 50-100 ครั้ง หรือทำให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

     ❇️ การรักษาโดยการผ่าตัด

     1. การผ่าตัดรักษา โดยการนำแผ่นพยุงตาข่าย (Mesh) แปะหรือฝังในผนังช่องคลอด เป็นวิธีการผ่าตัดเพื่อแก้ไขกระเพาะปัสสาวะหย่อนและลำไส้หย่อน

     2. การผ่าตัด A-P Repair หรือ Anterior-Posterior Vaginal Repair เป็นการผ่าตัดผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง และเนื้อเยื่อส่วนที่เกินที่ยื่นเข้ามาในช่องคลอดออกไป รวมทั้งตกแต่งกระเพาพปัสสาวะและลำไส้ส่วนปลายที่หย่อนคล้อย

     3. การผ่าตัดด้วยการเลเซอร์ เป็นการผ่าตัดบริเวณช่องคลอดด้านหลังโดยตัดเนื้อเยื่อส่วนเกินของผนังช่องคลอดออก เพื่อให้ช่องคลอดมีขนาดเล็กลง 
     ข้อดี: ช่วยลดการสูญเสียเลือดและลดความบอบช้ำของเนื้อเยื่อลงได้มาก เจ็บน้อยกว่าและฟื้นตัวเร็วกว่า

 ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนหรือภาวะกระบังลมหย่อน

       1. การหย่อนคล้อยของผนังช่องคลอดส่วนหน้า จะมีกระเพาะปัสสาวะหย่อน (Cystocele) ทำให้เกิดอาการปวดหน่วงในอุ้งเชิงกราน หรือมีก้อนจุกที่ปากช่องคลอด ในกรณีนี้ กำการแก้ไขด้วยการผ่าตัดรีแพร์ ผนังช่องคลอดส่วนหน้า (Anterior Vaginal Repair)

       2. การหย่อนคล้อยของผนังมดลูกส่วนหลัง จะมีลำไส้ส่วนทวารหนักหย่อนตาม หรือลำไส้หย่อน (Rectocele) ทำให้เกิดอาการปวดหน่วงในอุ้งเชิงกราน หรือมีก้อนจุกที่ปากช่องคลอด รวมถึงท้องผูก ในกรณีนี้ จะแก้ไขด้วย การผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดส่วนหลัง (Posterior Vaginal Repair)

      3.  มีการหย่อนคล้อยของผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง จะแก้ไขด้วยการผ่าตัดรีแพร๋ผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง (A-P Repair หรือ Anterior-Posterior Vaginal Repair)

 

*ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่สามารถทำรีแพร์ได้ เพราะแผลอาจจะอักเสบและติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ

*ผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศภายใน 1 สัปดาห์ และผู้ที่มีอาชีพที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ เพราะ 1 สัปดาห์ หลังจากผ่าตัดเสี่ยงต่อการเกิดแผลแยก แผลอักเสบ และฉีกขาดได้

 

 
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดทำรีแพร์

        ⭕️ เสียเลือดมาก

        ⭕️ อาจเกิดการติดเชื้อ

        ⭕️ ผนังกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ทะลุ

 

การปฏิบัติตัวหลังทำรีแพร์

         1. งดการมีเพศสัมพันธ์ 2 เดือน

         2. งดออกกำลังกาย 1 เดือน

         3. ไม่ยกของหนัก

         4. พยายามเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด เดินให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันแผลแยกและเกิดการอักเสบพักผ่อนให้มาก

         5. รับประทานอาหารได้ตามปกติ งดดื่มแอลกอฮอล์

         6. ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด เช้า-เย็น รวมถึงหลังจากปัสสาวะ-อุจจาระทุกครั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  and  นโยบายคุกกี้